วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ยอดกวีเอกของไทย (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
(ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรีและทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ให้ เป็นราชธานีใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๔๖ พรรษา ทรงวางรากฐานบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นทั้งด้านศาสนาและอาณาจักรให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกกฎหมายตราสามดวง ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาติทุกแขนง
บทพระราชนิพนธ์ ได้แก่ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับสมบูรณ์ บทละครเรื่องอุณรุทกลอนเพลงยาวนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง โดยเรื่องหลังทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนนิราศในคราวที่เสด็จไปรับศึกที่พม่าที่ตำบลสามสบ ท่าดินแดง แขวงเมืองไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ กลอนนิราศเรื่องนี้นอกจากจะแสดงอัจฉริยภาพด้านกวีนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแล้ว ยังได้แสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยและความเป็นองค์พระประมุขของพระองค์ ดังพระปณิธานที่ทรงไว้ในกลอนนิราศว่า

"ตั้งใจจะอุปถัมภก 
ยอยกพระพุทธศาสนา 
ะป้องกันขอบขัณฑสีมา 
รักษาประชาชนและมนตรี"


ประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 

                                   พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง  ประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙  พระบิดามีพระนามเดิมว่า ทองดี พระมารดาชื่อ หยก เมื่อทรงมีพระชันษา ๒๑ พรรษา  ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ๓ เดือน  เมื่อลาสิกขาก็ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงได้รับตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร  ประจำเมืองราชบุรี  พระองค์ทรงมีความชำนาญในการรบอย่างยิ่ง  จึงได้รับพระราชทานปูนกำเหน็จความดีความชอบให้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์  พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราชว่าที่สมุหนายก  เจ้าพระยาจักรี  และในที่สุดได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก   มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม  เมื่อทรงตีได้เวียงจันทร์   พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)  จากเมืองจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย  ต่อมาเกิดเหตุจลาจลได้สำเร็จ  ข้าราชการและประชาชนจึงอัญเชิญเป็นพระมหากษัตริย์แทนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

                                     พระราชกรณียกิจ

           พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นทั้งนักปกครองและนักการทหารที่ยอดเยี่ยม  ทรงแต่งตั้งให้เจ้านายที่เคยผ่านราชการทัพศึกมาทำหน้าที่ช่วยในการปกครองบ้านเมืองโปรดเกล้าฯ
– ให้ชำระกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยของบ้านเมือง คือ กฎหมายตราสามดวง
– รวมถึงการชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์อันเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงของกรุงรัตนโกสินทร์
– นอกจากนี้พระองค์ยังคงทรงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ  ทั้งด้านวรรณกรรมที่ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์  โดยพระราชนิพนธ์  บทละครเรื่องรามเกียรติ์  บทละครเรื่องอุณรุท  บทละครเรื่องอิเหนา  บทละครเรื่องดาหลัง  เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง  นอกจากด้านวรรณกรรมแล้ว  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังทรงส่งเสริมศิลปะด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  และนาฏกรรม
– ภายหลังที่ครองกรุงรัตนโกสินทร์เพียง ๓ ปี  ได้เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองไทย  พระองค์ทรงจัดกองทัพต่อสู้จนทัพพม่าแตกพ่าย  ยังความเป็นเอกราชให้กับแผ่นดินไทยมาจนทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อพสกนิกรชาวไทย เป็น มหาราช อีกพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยและทรงเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์  ที่ปกครองบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขจวบจนปัจจุบัน

ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย
          
          พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
          พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงมีพระนามเดิมว่า  "ด้วง"  หรือ  "ทองด้วง"  เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279  เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในเจ้าฟ้าอุทุมพร  กรมขุนพรพินิต  ต่อมาได้เข้ารับราชการในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ  ตำแหน่งหลวงยกกระบัตรประจำเมืองราชบุรี  และปฏิบัติราชการที่เมืองราชบุรีจนกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310  ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช  หลวงยกกระบัตรได้รับราชการอย่างแข็งขันและมีพระปรีชาสามารถโดยเฉพาะด้านการสงคราม

วีดีโอประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยอดกวีเอกของไทย (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) ที่มา : รูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอ...